ท่่านมาเรายินดีต้อนรับ ท่านกลับเราคิดถึง

Music So Hot!...>-<

Chat....La La La

October 7, 2009

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน1)


วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) ตั้งอยู่บนนถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ชาวบ้านนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "วัดป่าใหญ่" เป็นวัดเก่าแก่และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอบุลฯ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐาน ตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างเมืองอุบลฯ ในพ.ศ.2322

ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานนะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเมืองแห่งที่ 2 ให้ชื่วว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสะพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียงดังปรากฏหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินแปง ระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับ พ.ศ. 2350

โดยมีพระราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป "พระอินแปง" หรือพระเจ้าใหญ่อินแปงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมหาวนารามปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดนี้คือพระเจ้าใหญ่อินแปง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง

ลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปีจะมีการ ทำบุญตักบาตร เทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปงซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันี้ (จากรูป ผมได้ถ่ายไว้ในว้นสรงกรานต์ปี 48 พอดีชาวบ้านกำลังทำพิธีสรงน้ำพระ)


บทความที่อ่านแล้วศรัทธาจ้า

“ถึงแม้พระท่านจะนั่งสอนนั่งสวด เปล่งเสียงให้ไพเราะเสนาะหู แต่ท่านผู้ฟังๆ ไม่ออกแปลไม่ได้ ถึงความหมายของเหตุผล แม้บางคนอาจจะฟังได้แปลออก ก็ยังไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ถ้าท่านผู้ฟัง ยังไม่ได้นำเอาไปปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ก็ไม่ผิดอะไร กับที่โบราณเขากล่าวไว้ เหมือนผู้เฒ่านั่งเป่าปี่ให้ควายฟัง

ท่านมั้นใจได้แล้วหริอว่าท่านได้ปฏิบัติธรรม ได้อย่างถูกต้องแล้ว ก่อนที่เราจะปฏิบัติธรรม เราควรที่จะศึกษาพระธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง เสียก่อนว่าสิ่งที่เราปฏิบัติอยู่นั้น ถูกต้องได้ผลดีเพียงใด พระธรรม เราสามารถแบ่งแยกได้ 3 ประการด้วยกัน หนึ่ง คือศีลธรรม พระพุทธเจ้าเป็น ผู้กำหนด ขึ้นให้พวกเราชาวพุทธพึงปฏิบัติเพื่อให้รู้ผิดรู้ชอบ มีกำหนดชัดเจนแน่นอน ไม่เปลียนแปลง สองคือ ธรรมความดีมีเหตุมีผล ถูกต้องยุติธรรมเป็นผู้กำหนด คนทุกชาติทุกศาสนา ควรที่จะต้องปฏิบัติธรรมะ ธรรมะเปลี่ยนแปลง ได้ตามวันเวลา ตามเหตุการณ์

เหตุผลตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่ต้องเปลียนแปลงไป เพื่อให้สังคมของมนุษย์ อยู่ร่วมโลกด้วยกันได้อย่างสันติสุข และเป็นธรรม สาม คือธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ หรือพระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้กำหนดธรรมชาติ ให้ทั้งคุณและโทษ ทั้งสร้างและทำลาย ให้ทั้งความเป็นธรรมและไม่เป็นธรรม หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ พระธรรมทั้งสามประการนี้ มีบางสิ่งบางอย่างขัดแย้งกัน คนที่มีความรู้มีสติปัญญาดี เท่านั้น ที่สามารถ จะแบ่งแยกและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ถ้าเราจะปฏิบัติให้ถูกต้องไดผลดีนั้น เราจะต้องไปศึกษาเรียนรู้กับพระหรือครูบาอาจารย์ ที่รู้แจ้งเห็นจริง ให้ช่วยแนะนำชี้แจงสั่งสอน ให้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม

แล้วนำเอาไปปฏิบัติในทางโลก ได้ดังนี้ ถ้าเราเป็นลูก ก็ต้องรับผิดชอบแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ตามหน้าที ที่เรามีอยู่ ไม่สร้างความเดือดร้อนเลวร้ายให้พ่อแม่ทุกข์ทรมาน ทั้งกายและใจถ้าเราเป็นพ่อแม่ ก็ต้องรับผิดทำหน้าที่ เลี้ยงดูให้ความรักลูกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้ลูกอดยากลำบากขาดที่พึ่ง ถ้าเราเป็นลูกจ้าง ก็ต้องทำงานสร้างผลประโยชน์ ให้คุ้มค่าของเงินที่นายจ้างให้แก่เรา ไม่อู้งาน ไม่ทำลายผลประโยชน์ของนายจ้าง

ถ้าเป็นนายจ้างก็ต้องให้ความเป็นธรรมต่อลูกจ้าง ไม่กดขี่ข่มเหงเอาเปรียบลูกจ้าง ถ้าเป็นพ่อค้านายทุน ก็ต้องขายสินค้าที่มี่คุณภาพ สมกับราคาไม่โกหกคดโกงลูกค้า ถ้าเราเป็นข้าราชการก็ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของบ้านเมือง

ทำงานรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใข้อำนาจหน้าที่ทุจริต และกดขี่ผู้อื่น ถ้าเราเป็นประชาชน เราก็ต้องทำแต่ความดี เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขื้นแก่ตนเองและสังคม ไม่สร้างปัญหาให้แก่เพื่อนมนุษย์ ร่วมโลก ที่

กล่าวมา ทั้งหมดนี้ คือพระธรรมที่ต้องพึงปฏิบัติ การฟังเทศน์ เป็นการปฏิบัติธรรมทางทฤษฎีเท่านั้น”

บทความของ คุณพงษ์ศักดิ์ ถุนาพรรณ์ วัดป่าใหญ่


No comments:

Post a Comment