ท่่านมาเรายินดีต้อนรับ ท่านกลับเราคิดถึง

Music So Hot!...>-<

Chat....La La La

October 9, 2009

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอนสุดท้าย 9)


และวัดสุดท้ายของ 1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบลคะ คือ

วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) อำเภอเมือง เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองคือ พระแก้วบุษราคำม ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมันเชียงแสนแกะสลักจากแก้วบุษราคัม ตามตำนานเล่าว่าพระวรราชภักดีหรือพระวอ พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตา คือท้าวคำผง ท้าวทิศพรหมและท้าวก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้อัญเชิญมาจากกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เดิมอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาวัดศรีอุบลฯ ในภายหลัง โดยได้ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถที่สร้างตามแบบพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2398





ขอบคุณนะคะที่ติดตามชม คราวหน้าจะพาไปเที่ยวไหน ติดตามชมนะคะ


1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 8)










วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง และเป็นวัดธรรมยุติวัดแรกของจังหวัดอุบลาชธานี สร้างตั้งแต่พ.ศ. 2393 เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2396 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวัดมีพระอุโบสถเก่าซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 แทนอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม โดยมีผู้อำนวยการก่อสร้างคือ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ดิสโส อ้วน) ผู้ควบคุมการก่อสร้างคือ หลวงสถิตยพิมานกาล (ชวน) มีช่างชาวญวนและช่างจีนเป็นผู้นำในการก่อสร้าง ลักษณะของพระอุโบสถ เป็นอาคารขนาดใหญา สร้างคล้ายทรงพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 (แบบอิทธิพลจีน) ตัวอาคารมีชาลาและเสานางเรียงล้อมรอบ ระหว่างเสาก่ออิฐเป็นรูปโค้งแบบตะวันตก หน้าจั่วทำลวดลายปูนปั้นเป็นลายไทยแบบฝีมือช่างญวน

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 7)



วัดหลวง วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่) มีเนื้อที่ ประมาณ 8 ไร่ 4 ตารางวา ปี กุน พ.ศ.2324 เมื่อเจ้าพระปทุมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวคำผง) ได้อพยพมาจากดอนมดแดง มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง และได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น และเห็นว่า ที่แห่งนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเมือง วัดวาอาราม เพื่อเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เป็นที่อยู่อาศัย สืบทอดพระพุทธศาสนา จึงให้พระสงฆ์ที่อพยพมาด้วย ลงมือก่อสร้าง

โดยให้ช่างที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ พร้อมด้วยท่านอุปฮาดราชบุตรราชวงศ์ ท่านท้าวเพี้ย กรรมการน้อยใหญ่ ร่วมสร้างด้วยความสามัคคี วัดจึงสำเร็จสวยงามสมเจตนารมณ์ สร้างโบสถ์ องค์พระประธาน กุฎิวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง เป็นสังฆาวาสที่สวยงามมาก เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งนามว่า พระเจ้าใหญ่วัดหลวง นามนี้เรียกว่า "วัดหลวง" ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี และถือได้ว่าเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก นั้นก็คือ ท้าวคำผง นั้นเอง

เนื่องจากเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี ที่ตั้งขึ้นหลังตั้งเมือง ดังนั้น จึงมีโบสถ์ที่สวยงาม แต่แน่เสียดาย ที่โบสถ์หลังดังกล่าวได้รื้อไปแล้ว และได้สร้างโบสถ์หลังใหม่แบบเมืองหลวงขึ้นแทน จากหลักฐานภาพถ่ายเก่าๆ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่ พอจะได้เห็นถึงลักษณะรูปแบบของสิมวัดหลวงได้บ้าง

ลักษณะของสิมวัดหลวง มีแปลนรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสิมวัดต่างๆ ในเมืองอุบลราชธานี แต่รูปคล้ายๆ กัน คือ ฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นมาทำเป็นเฉลียง ตัวอาคารและฐานถือปูน เสาด้านหน้าสิม 4 ต้น เป็นเสาเหลี่ยมลบมุม หัวเสาทำเป็นรูปบัวจลกล ทวยไม้แกะสลักแบบหูช้างหน้าบันกรุไม้ลูกฟักหน้าพรหม สาหร่าย รวงผึ้งแบบพื้นบ้านอีสาน(อิทธิพลล้านช้าง) หลังคาชั้นเดียวทรงจั่ว ไม่มีชั้นลด มีปีกนก(พะไร) ทางด้านข้างใช้เป็นแป้นมุงไม้หน้าจั่ว ตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง (รายระกามอญ)

ลักษณะของสิมวัดหลวง มีคนเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี กล่าวว่า สวยงามมากคล้ายกับวัดเชียงทอง ของเมืองหลวงพระบางของล้านช้าง หากสิมวัดหลวงหลังนี้ไม่ถูกรื้อไป ก็คงจะมีโบราณสถาน ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานี ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง




ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก ไกล์อุบล



1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 6)


วัดกลาง เจ้าราชวงศ์ (ก่ำ) เป็นผู้สร้างวัดกลางในราวปีขาล จุลศักราช 1144 ตรงกับวันที่ พ.ศ. 2325 ณ ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำมูลใกล้กับโฮงหรือคุ้มราชวงศ์ (ถนนราชวงศ์ปัจจุบัน)

ตามคตินิยมแต่โบราณ ที่หาทำเลใกล้แม่น้ำสร้างเมืองแล้วสร้างวัดควบคุมกัน ชื่อวัดเรียกตามทางน้ำไหล วัดที่เจ้าราชวงศ์สร้างอยู่ระหว่าง วัดเหนือท่า ” (บริเวณ สนง.สาธารณสุข จังหวัดฯ ปัจจุบัน) กับ วัดใต้ท่า ” (สนง.การไฟฟ้าปัจจุบัน) จึงได้ชื่อว่า วัดกลาง เพราะอยู่ย่านกลางของเมืองอุบลฯ

ประวัติพระเจ้าใหญ่วัดกลาง พระเจ้าใหญ่พระประธานเก่าแก่ประจำพระวิหารเก่าตั้งแต่สร้างวัดชาวเมืองอุบลฯ รุ่นเก่าเรียกว่า พระบทม์

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่งดงามองค์หนึ่ง เท่าที่ทราบจากคนรุ่นเก่าเล่าสืบทอดกันมาว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยอิฐดินเหนียวผสมเกสรดอกบัว และว่านจำป่าศักดิ์ป่นละเอียด อธิษฐานก่อปั้นเป็นองค์พระบทม์ ไม่มีเหล็กเสริมภายในและใช้เกสรดอกบัวป่นละเอียดคลุกเคล้ากับยางบง น้ำแช่หนังวัวเผา น้ำแช่เปลือกเม็ก น้ำข้าวจ้าวต้ม หินเผาไฟป่นให้ละเอียด น้ำอ้อยเคี่ยวให้เหนียวผสมเป็นเนื้ อเดียวกันดีแล้วใช้ฉาบทาให้ผิวขององค์พระบทม์ ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกขานกันว่า ปูนน้ำอ้อย


พระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์ (ทองหล่อ สํวโร) ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้กรุณาอธิบายเพิ่มเติมว่า พระบทม์ ขนาดหน้าตักกว้าง 78 นิ้ว สูง 108 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ องค์หนึ่ง คำว่า พระบทม์ มาจากคำว่า (ปทุมํ-ปทม-บทม์) หมายถึง ดอกบัว ได้แก่ บัวหลวง มีสีแดง กลิ่นหอม เป็นพระพุทธรูปที่ประสาทพรเกื้อกูลให้เกิดความสำเร็จตามแรงแห่งสัจจาธิษฐานปรารถนา

คนรุ่นเก่าเมื่อจะกล่าวถึงของสำคัญและเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ แล้วชอบกล่าวคำว่า พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง จนติดปาก

พระบทม์วัดกลางงดงามมาก มีพุทธลักษณะอย่างเดียวกับ พระเหลาเทพนิมิต บ้านพนา เป็นฝีมือช่างรุ่นแรกของเมืองอุบลราชธานี


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก ไกล์อุบล

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 5)



















วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อำเภอเมือง เป็น
วัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2322 มีชื่อเดิมว่าวัดใต้เทิง ตามประวัติหล่าวว่าเดิมมีอยู่ 2 วัด คือวัดใต้เทิงและวัดใต้ท่า ต่อมาได้ยุบ 2 วัด มาเป็นวัดเดียวกันในปี พ.ศ. 2545 เรียกว่าวัดใต้เทิง คำว่า เทิง แปลว่าเหนือหรือสูงขึ้นไป

ต่อมาคำว่า เทิง เลือนหายไป เหลือแต่คำว่าวัดใต้ สิ่งสำคัญในวัดนี้ คือพระอุโบสถสร้างด้วยศิลปะ 3 ชาติ อยู่ในหลังเดียวกัน คือหลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ส่วนฐานเป็นศิลปะขอมผสมเวียดนาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่หนัก 1 ตื้อ จึงได้ชื่อว่า วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 4)

วัดบูรพาราม อำเภอเมือง สร้างชึ้นในราวปี พ.ศ. 2436-2453 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิปรสงค์ ได้สร้างถวายแด่พระสีทา สยเสโนแห่งวัดศรีอุบลรัตนาราม ด้วยศรัทธาที่เห็นท่านมานั่งวิหัสสนากัมมัฏฐาน ณ บริเวณพื้นที่นี้เป็นประจำสิมวัดบูรพาราม มีลักษณะเป็นสิมทีบ หันหน้าออกสู่แม่น้ำ

ส่วนฐานอาคารก่อด้วยอิฐเป็นฐานเอว ขันแบบสิมอีสานทั่วไป หอไตรมีลักษณะเป็นเรือนไม้ขนาด 3 ห้อง 2 หลังคู่ หน้าจั่วทำลวดลายรัศมีพระอาทิตย์ผนังอาคารโดยรอบตกแต่งด้วยลายบัวฟันยักษ์ประดับกระจกสีเหลือง ขาวและเขียว วัดนี้ยังเคยเป็นที่จำพรรษาของพระอาจารย์ทางวิปัสสนากัมมัฏฐานชื่อดังอีกหลายท่านคือพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์เสาว์ ถันตสีโล และพระอาจารย์สิงห์ ขันตยคโม




สิ่งสำคัญของวัดนี้คะ คือ ธรรมชาติที่เราได้พบเห็น

และความร่มเย็มของต้นไม้ เพราะลำ้ต้นใหญ่ มะมะากคะ

น่ามานั่งวิปัสนากรรมฐานมากคะ

และที่สำคัญที่เงียบมะมากคะ ไม่เชื่อลองดูจากภาพนะคะ

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 3)



วัดทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จกพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สร้างวัดนี้คือ ท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลคณะภิบาลสังฆปาโมก เจ้าคณะเมือง
อุบลราชธานี

ในสมัยนั้น และเนื่องจาก ท่านได้เคยไปศึกษาพระธรรมวินัย ที่วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ จึงได้นำพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศฯ มายังอุบลราชธานี และได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้นเป็นที่ประดิษฐาน ปัจจุบัน คือ พระอุโบสถมีลักษณะของศิลปแบบรัตนโกสินทร์ ตอนต้นและศิลปเวียงจันทน์ ผสมกันอยู่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้านงดงามมาก

ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนในอีกอย่างหนึ่งคือ หอพระไตรปิฏกสร้างด้วยไม้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำเพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ป้องกันไม่ให้มดปลวกไปกัดทำลาย มีลักษณะเป็นศิลปะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว กล่าวคือ ลักษณะอาคารเป็นแบบ
ไทยเป็นเรือนฝาประกนขนาดสี่ห้อง


ภายในห้องที่เก็บตู้พระธรรมทุกด้านเขียนลงรักปิดทอง ส่วนหลังคามีลักษณะศิลปะไทยผสมพม่า คือมีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบน หน้าบันท้ะง 2 ด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาวฝีมือชั้นสูง ตรงส่วนฝาปะกนด้านล่างแกะเป็นรูปสัตว์ประจำราศต่าง ๆ และลวดลายพันธุ์ไม้เป็นช่อง ๆ โดยรอบ นับเป็นหอไตรที่มีความงดงามที่สุด








นี่แหละคือเอกลักษณ์ของ วัดทุ่งศรีเมือง ที่ยังอนุลักษณ์ สิ่งล้ำค่ามาอย่างช้านาน ของชาวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน 2)

วัดมณีวนาราม เมื่อประมาณสี่ปีมาแล้วนี่แหละ ที่พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดอุบราชธานีและชาวจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสกราบไหว้ และสรงน้ำพระแก้วโกเมนพระพุทธรูปอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ของวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) ทั้งนี้เนื่องด้วยพระแก้วโกเมนเป็นพระพุทธรูปที่มีค่าหาได้ยากยิ่งเกรงจะสูญหาย จึงหวงแหนด้วยความห่วงใย พระเดชพระคุณเจ้าอาวาสวัดมณีวนารามที่ผ่านมาทุกรูป จึงเก็บรักษาพระแก้วโกเมนไว้ในตู้นิรภัยตลอดมา

ครั้งเมื่อสิ้นสมัยหลวงปู่พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหับผโล) คณะกรรมการวัดจึงขออนุญาตนำพระแก้วโกเมนลงมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา และสรงน้ำในเทศกาลวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว และได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ก็แลได้รับการบอกเล่าสืบต่อกันมาฟังได้ว่า พระแก้วโกเมนอุบัติขึ้นพร้อมกับพระแก้วบุษราคัมซึ่งประดิษฐานอยู่วัดศรีอุบลรัตนรามปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปอัญมณีในตระกูลแก้วเก้า ประการ คือ เพชร มณี มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ มุกดา เพทาย และไพฑูรย์

เมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีสงครามกับเวียงจันทน์ ผู้รักษาการบ้านเมืองและทายก-ทายิกา ได้พากันนำพระแก้วโกเมนไปรักษาไว้อย่างดีที่วัดบ้านกุดละงุม อำเภอวารินชำราบปัจจุบัน และคณะผู้รักษาพระแก้วโกเมน ได้นำท่อนไม้จันทร์มาทำเป็นผอบใหญ่ คว่ำองค์พระพุทธรูปไว้ ด้วยเกรงว่าข้าศึกจะแย่งชิงไป

ครั้งเมื่อศึกสงบลงจึงได้นำพระแก้วโกเมนมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมณีวนาราม ซึ่งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดเก็บรักษาไว้เป็นความลับสืบต่อกันมา

การที่นำผอบไม้จันทน์ไปคว่ำ (หรือ ครอบ) พระแก้วไว้นั้น ภาษาอีสานเรียกว่า งุม วัดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาพระแก้วโกเมนครั้งนั้น จึงเรียกว่า วัดกุดละงุม มาจนปัจจุบัน

October 7, 2009

1 วันกับกราบพระ 9 วัด เมืองอุบล (ตอน1)


วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) ตั้งอยู่บนนถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ชาวบ้านนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "วัดป่าใหญ่" เป็นวัดเก่าแก่และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอบุลฯ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐาน ตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างเมืองอุบลฯ ในพ.ศ.2322

ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานนะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเมืองแห่งที่ 2 ให้ชื่วว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสะพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียงดังปรากฏหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินแปง ระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับ พ.ศ. 2350

โดยมีพระราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป "พระอินแปง" หรือพระเจ้าใหญ่อินแปงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมหาวนารามปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดนี้คือพระเจ้าใหญ่อินแปง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง

ลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปีจะมีการ ทำบุญตักบาตร เทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปงซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันี้ (จากรูป ผมได้ถ่ายไว้ในว้นสรงกรานต์ปี 48 พอดีชาวบ้านกำลังทำพิธีสรงน้ำพระ)


บทความที่อ่านแล้วศรัทธาจ้า

“ถึงแม้พระท่านจะนั่งสอนนั่งสวด เปล่งเสียงให้ไพเราะเสนาะหู แต่ท่านผู้ฟังๆ ไม่ออกแปลไม่ได้ ถึงความหมายของเหตุผล แม้บางคนอาจจะฟังได้แปลออก ก็ยังไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ถ้าท่านผู้ฟัง ยังไม่ได้นำเอาไปปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ก็ไม่ผิดอะไร กับที่โบราณเขากล่าวไว้ เหมือนผู้เฒ่านั่งเป่าปี่ให้ควายฟัง

ท่านมั้นใจได้แล้วหริอว่าท่านได้ปฏิบัติธรรม ได้อย่างถูกต้องแล้ว ก่อนที่เราจะปฏิบัติธรรม เราควรที่จะศึกษาพระธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง เสียก่อนว่าสิ่งที่เราปฏิบัติอยู่นั้น ถูกต้องได้ผลดีเพียงใด พระธรรม เราสามารถแบ่งแยกได้ 3 ประการด้วยกัน หนึ่ง คือศีลธรรม พระพุทธเจ้าเป็น ผู้กำหนด ขึ้นให้พวกเราชาวพุทธพึงปฏิบัติเพื่อให้รู้ผิดรู้ชอบ มีกำหนดชัดเจนแน่นอน ไม่เปลียนแปลง สองคือ ธรรมความดีมีเหตุมีผล ถูกต้องยุติธรรมเป็นผู้กำหนด คนทุกชาติทุกศาสนา ควรที่จะต้องปฏิบัติธรรมะ ธรรมะเปลี่ยนแปลง ได้ตามวันเวลา ตามเหตุการณ์

เหตุผลตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่ต้องเปลียนแปลงไป เพื่อให้สังคมของมนุษย์ อยู่ร่วมโลกด้วยกันได้อย่างสันติสุข และเป็นธรรม สาม คือธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ หรือพระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้กำหนดธรรมชาติ ให้ทั้งคุณและโทษ ทั้งสร้างและทำลาย ให้ทั้งความเป็นธรรมและไม่เป็นธรรม หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ พระธรรมทั้งสามประการนี้ มีบางสิ่งบางอย่างขัดแย้งกัน คนที่มีความรู้มีสติปัญญาดี เท่านั้น ที่สามารถ จะแบ่งแยกและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ถ้าเราจะปฏิบัติให้ถูกต้องไดผลดีนั้น เราจะต้องไปศึกษาเรียนรู้กับพระหรือครูบาอาจารย์ ที่รู้แจ้งเห็นจริง ให้ช่วยแนะนำชี้แจงสั่งสอน ให้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม

แล้วนำเอาไปปฏิบัติในทางโลก ได้ดังนี้ ถ้าเราเป็นลูก ก็ต้องรับผิดชอบแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ตามหน้าที ที่เรามีอยู่ ไม่สร้างความเดือดร้อนเลวร้ายให้พ่อแม่ทุกข์ทรมาน ทั้งกายและใจถ้าเราเป็นพ่อแม่ ก็ต้องรับผิดทำหน้าที่ เลี้ยงดูให้ความรักลูกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้ลูกอดยากลำบากขาดที่พึ่ง ถ้าเราเป็นลูกจ้าง ก็ต้องทำงานสร้างผลประโยชน์ ให้คุ้มค่าของเงินที่นายจ้างให้แก่เรา ไม่อู้งาน ไม่ทำลายผลประโยชน์ของนายจ้าง

ถ้าเป็นนายจ้างก็ต้องให้ความเป็นธรรมต่อลูกจ้าง ไม่กดขี่ข่มเหงเอาเปรียบลูกจ้าง ถ้าเป็นพ่อค้านายทุน ก็ต้องขายสินค้าที่มี่คุณภาพ สมกับราคาไม่โกหกคดโกงลูกค้า ถ้าเราเป็นข้าราชการก็ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของบ้านเมือง

ทำงานรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใข้อำนาจหน้าที่ทุจริต และกดขี่ผู้อื่น ถ้าเราเป็นประชาชน เราก็ต้องทำแต่ความดี เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขื้นแก่ตนเองและสังคม ไม่สร้างปัญหาให้แก่เพื่อนมนุษย์ ร่วมโลก ที่

กล่าวมา ทั้งหมดนี้ คือพระธรรมที่ต้องพึงปฏิบัติ การฟังเทศน์ เป็นการปฏิบัติธรรมทางทฤษฎีเท่านั้น”

บทความของ คุณพงษ์ศักดิ์ ถุนาพรรณ์ วัดป่าใหญ่